What is Digital Transformation?
หมายถึง การนำ software technology มาเป็นเครื่องมือเพื่อปฏิรูปวิธีดำเนินกระบวนการทางธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการบริหารข้อมูล Insight ของลูกค้าเพื่อยกระดับการเข้าถึงโอกาสทางการขายเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หรือเป็นการปฏิรูปการทำงานแบบเก่าและ transform กระบวนการทำงาน ด้วย management tools เพื่อ re-design workflow ในการทำงานให้ seamless และมีมาตราฐาน ทั้งนี้การทำ Digital transformation ยังเสริมทัพด้วยด้วยการเก็บข้อมูลบน cloud platform ที่มีมาตราฐานด้านความปลอดภัยที่ซับซ้อนและน่าเชื่อถือระดับสากล ซึ่งสามารถช่วยประหยัดต้นทุน และเพิ่มความคล่องตัวในการทำงาน ด้วยการเข้าถึงข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตได้จากทุกที่ ทุกเวลา แถมยังช่วยลดต้นทุน ประหยัดเวลา ลดความสิ้นเปลืองในการใช้ทรัพยากร สุดท้ายก็เพื่อยกระดับประสิทธิภาพในการทำงานให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น Digital transformation จึงถือถือเป็น Game changer อย่างไม่ต้องสงสัย
What are the steps of The Evolution Of Digital Transformation?
Stage 1: Digitization เป็นมากกว่าแค่การนำข้อมูลขึ้นสู่ระบบดิจิตอล
การ digitize องค์กรนั้น คือขั้นแรกในการทำ digital transformation เป็นการจัดทำโครงสร้างองค์กรหรือ digital infrastructure นั้นเอง โดยคำนึงถึงสิทธิและบทบาท (roles and permission) การเข้าถึงข้อมูลขององค์กรเป็นสำคัญ การนำข้อมูลและเอกสารเข้าสู่โครงสร้างที่บริษัทกำหนดไว้จะช่วยให้การแก้ไข เก็บเอกสาร เก็บเวอร์ชั่นต่างๆ และแชร์เอกสารตามระเบียบโครงสร้าง ทำให้ข้อมูลขยะน้อยลง ใช้ common sense ในการหาเอกสาร ไม่ต้องสอนกันหรือจดจำ สร้างความยืดหยุ่นให้ผู้ใช้งานสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้จากทุกมุมโลก จากอุปกรณ์ใดก็ได้เพียงปลายนิ้ว โดยไม่ต้องห่วงเรื่องความปลอดภัยหรือความมั่นคงของการเก็บข้อมูลตามโครงสร้างที่กำหนดไว้
Stage 2: Digitalization การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อลดต้นทุนแต่เพิ่มแต่ผลผลิต
Digitalization ถือเป็นขั้นตอนที่สองในการทำ digital transformation เป็นการประยุกค์การทำ Design thinking เกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่และการดำเนินงานของทั้งคน เครื่องมือ และระบบงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดโดยใช้ทรัพยากรน้อยที่สุดหรืออย่างชาญฉลาดที่สุด เมื่อเราสามารถเข้าใจจุดเชื่อมโยงของทุกๆ งานในองค์กรได้ เราก็จะเห็นและสามารถบอกได้ว่าเราควรตัดกระบวนการไหนออกหรือใช้ระบบ automation เข้ามาทำแทน เพื่อลดการพึ่งพามนุษย์ โดยการปรับ workflow ต่างๆ ซึ่งสามารถทำได้โดยสะดวกกว่าเมื่อก่อนเนื่องจากทุกอย่างอยู่ในระบบแล้ว แต่นั้นก็ทำให้การสื่อสารระหว่างผู้นำและผู้ปฏิบัติเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอันดับแรกๆ และเรื่องนี้ก็อาจจะไม่สามารถทำได้ภายในเวลาอันสั้นเนื่องจากต้องมีการวางแผนและประเมินถึงผลกระทบที่พึงเกิด ฉะนั้นผู้ดูแล OT หรือ Operational Technology อย่าง COO หรือ IT จึงต้องมีความรู้ความสามารถในการเข้าใจเครื่องมือและขั้นตอนการทำงานต่างๆ อย่าง SOP หรือ Standard Operation Procedure ในองค์กรไม่น้อยไปกว่าผู้ปฏิบัติเลย เราจึงจะสามารถบริหารงานต่างๆ ได้อย่างโปร่งใส รวดเร็ว และชัดเจน
Stage 3: Digital Transformation เพิ่มความสามารถในการพลิกโฉมองค์กร โดยการสร้างธุรกิจใหม่เพื่อตอบรับเทรนโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว
หลังจากการทำ Digitize และ Digitalize แล้ว ตอนนี้องค์กรก็มีความพร้อมและความสามารถมากพอในการเป็น agile organization ได้แล้ว หรือองค์กรจึงสามารถ scale up หรือเติบโตและหดตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยต้นทุนที่น้อยที่สุด และตัวเลขสถิติที่พร้อมสำหรับการทำ digital transformation หรือกระบวนการในกาารกระตุ้นให้บริษัทคิด business model ใหม่เพื่อปรับตัวตามสถานการณ์ตลาดโลก เพื่อที่จะแสวงหาช่องทางรายได้ใหม่ๆ โดยองค์กรที่สามารถปรับตัว คิดค้นสิ่งใหม่ๆ และตอบปัญหาลูกค้ามากที่สุดก็คือผู้ที่จะอยู่รอด แต่ต้องเป็นการอยู่รอดแบบมีคุณภาพ และทราบถึงสถานะในการบริหารองค์อยู่ตลอดเวลา เครื่องมือและเทคโรโลยีจึงต้องทันสมัยเสมอ เพราะนั้นจะทำให้เรายืนอยู่เหนือคู่แข่งในโลกปัจจุบัน
และทั้งหมดนี้คือขั้นตอนในการ Digital Transformation